การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ

การก่อการร้ายหมายถึงการใช้ความรุนแรงหรือการข่มขู่จะใช้ความรุนแรงกับเป้าหมายที่ไม่ใช่ผู้ทำการรบ (non-combatant) ด้วยวัตถุประสงค์ทางการเมือง เพื่อสร้างความหวาดกลัวและมีอิทธิพลเหนือพฤติกรรมของกลุ่มตัวแสดงหนึ่ง ๆ (ดูเพิ่ม: A More Secure World: Our Shared Responsibility, 2004) ส่วนอาชญากรรมข้ามชาติหมายถึงการกระทำผิดกฎหมาย ซึ่งการวางแผน การลงมือกระทำ และผล กระทบของการกระทำเกี่ยวข้องกับรัฐมากกว่าหนึ่งรัฐ (Albanese, 2009)

แนวโน้มในอนาคต 

▪ การกดขี่ ความไม่เท่าเทียม และความทุกข์ยากทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมจะเพิ่มจำนวนผู้สนับสนุนขบวนการก่อการร้ายขึ้นอย่างต่อเนื่อง
▪ กลุ่มจีฮัด (Jihadist) หัวรุนแรงจะยังคงเป็นขบวนการก่อการร้ายที่ใหญ่ที่สุดและเป็นภัยคุกคามระดับโลกที่สำคัญที่สุดภายใน ค.ศ.2040 ขณะที่กลุ่มการเมืองหัวรุนแรง กลุ่มชาติพันธุ์และนิกายทางศาสนาอาจใช้การก่อการร้ายระดับท้องถิ่นเป็นเครื่องมือผลักดันประเด็นวาระมากขึ้น (National Intelligence Council, 2021, p.107)
▪ กลุ่มอาชญากรรมข้ามชาติจะพยายามขยายกิจกรรมออกไปยังตลาดสินค้าและบริการใหม่มากขึ้น ขยายอิทธิพลกว้างขวางยิ่งขึ้น และเน้นใช้เครื่องมือทางไซเบอร์ในการกระทำผิดเพิ่มขึ้น (Realuyo, 2015, p.2)
▪ ขบวนการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติจะยังคงใช้อาวุธตามแบบเป็นเครื่องมือหลัก แต่มีแนวโน้มที่จะเข้าถึงและนำอาวุธทำลายล้างสูงมาใช้มากขึ้นภายใน ค.ศ.2030 (Forest, 2011, p.51) ยิ่งไปกว่านั้น ยังอาจประยุกต์ใช้ยานยนต์ไร้คนขับ ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีความจริงผสมผสานมาเสริมสร้างภารกิจเพิ่มขึ้นด้วย
▪ การเปลี่ยนผ่านระเบียบโลกไปสู่ระเบียบกระจายศูนย์ที่มีความขัดแย้งแข่งขันกันสูงน่าจะลดขีด ความสามารถในการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติของประชาคมโลก

ผลกระทบต่อประเทศไทย  

▪ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงการดำเนินธุรกิจในวงกว้าง
▪ ส่งผลให้บรรษัทที่ดำเนินกิจการถูกต้องตามกฎหมายต้องแข่งขันกับธุรกิจของขบวนการเหล่านั้นในตลาดมืด เมื่อประกอบกับผลกระทบประการก่อนหน้า จึงอาจยังผลให้บรรษัทไม่ขยายการลงทุนหรือย้ายฐานการดำเนินธุรกิจออกไปยังต่างประเทศ ก่อให้เกิดการว่างงาน
▪ กระตุ้นการเพิ่มขีดความสามารถทางทหารและงานตำรวจของรัฐ ซึ่งจะยิ่งตอกย้ำความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจและความไม่มั่นคงในการเมืองโลก แต่ประเด็นการต่อต้านขบวนการเหล่านี้ก็อาจเป็นผล ประโยชน์ร่วมที่เอื้อให้รัฐร่วมมือกันมากขึ้น
▪ เพิ่มความเสี่ยงที่ขบวนการทางการเมืองจะรับแนวคิดแบบสุดโต่ง ส่งผลให้การเมืองมีล
ณะแบ่งขั้วและแตกแยกรุนแรง จึงยากต่อการประนีประนอมเพื่อจัดสรรผลประโยชน์ร่วมกัน
▪ ส่งผลให้รัฐบาลดำเนินนโยบายอย่างอิสระได้ยากขึ้น เพราะอาจถูกกดดันจากขบวนการก่อการร้ายและมหาอำนาจที่ต่อต้านขบวนการนั้น
▪ ส่งเสริมให้เกิดการทุจริตในภาครัฐเพิ่มมากขึ้น
▪ เพิ่มความเสี่ยงที่ประชาชนจะถูกรัฐบาลสอด-แนม ละเมิดความเป็นส่วนตัว และลิดรอนสิทธิ-มนุษยชนอย่างล้นเกิน โดยอ้างการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ