การมองอนาคตในแต่ละประเทศ

ในการวางแผน การกำหนดนโยบาย เป้าหมาย การวางอนาคต และทิศทางการพัฒนาประเทศว่าเป็นไปในทิศทางใด หากมีการนำ Technology Foresight มาใช้เป็นแนวทางจะช่วยให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถมองอนาคตได้แม่นยำมากขึ้น สามารถเตรียมความพร้อมในการรับมือได้อย่างทันท่วงที ซึ่งจะเห็นได้จากหลายประเทศ
เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน เกาหลีใต้ ที่มีการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด

ญี่ปุ่น เป็นประเทศหนึ่งที่เกิดภัยพิบัติรุนแรงต่อเนื่องมาโดยตลอด แต่หลังเกิดภัยพิบัติทั้งรัฐบาลและประชาชน ช่วยกันฟื้นฟูประเทศได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการวางแผน การเตรียมการ และการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังเป็นประเทศบุกเบิกที่มีการนำเทคโนโลยี Technology Foresight มาใช้ในการบริหารจัดการประเทศโดยเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2513 มีการจัดทำมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ครั้ง ทุกๆ 5 ปี เพื่ออัปเดตข้อมูลใหม่ๆ โดยเริ่มจากการสำรวจความต้องการใช้เทคโนโลยีใหม่ ศึกษาเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว สร้างสถานการณ์จำลองในการพัฒนา และสำรวจข้อมูลด้วยเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) ปัจจุบันญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จและเป็นตัวอย่างของการนำ Technology Foresight มาใช้

สิงคโปร์ เป็นประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยีในกลุ่มอาเซียน และยังเป็นประเทศที่มีการนำเอา Technology Foresight มาใช้ในการวางแผนการทำงานของรัฐบาล เช่น การกำหนดนโยบายของประเทศ ช่วยให้สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถมองอนาคตได้แนยำมากขึ้น

การนำเอาเทคโนโลยี Foresight มาใช้เริ่มตั้งแต่ปี 2523 โดยวางแผนในการจัดผังเมืองที่อยู่อาศัยของประชาชนก่อน เพราะสิงคโปร์มีพื้นที่เป็นเกาะขนาดเล็ก นอกจากนั้นยังนำไปใช้กับการวางแผนการพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ เช่น การรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ และการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ

ทั้งนี้สิงคโปร์ยังพัฒนาเครื่องมือการวิเคราะห์อนาคต (Foresight Tools) ขึ้นเป็นของตนเองในชื่อ “Scenario Planning Plus” (SP+)

ตัวอย่างหนึ่งของการสร้างฉากทัศน์ที่ประสบความสำเร็จที่เห็นได้ชัดคือ ฉากทัศน์เมื่อเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติจนไม่สามารถออกจากบ้านได้ เป็นที่มาของการเรียนการสอนออนไลน์ การทำงานแบบ Work From Home ในทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้คนสิงคโปร์สามารถปรับตัวในการดำรงชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

เกาหลีใต้ ถือเปนอีกประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาวิจัยเทคโนโลยีใหม่ๆ มีการลงทุนด้านนี้อย่างต่อเนื่อง จนสามารถเปลี่ยนจากประเทศเกษตรกรรม นำเข้าสินค้าและบริการด้านเทคโนโลยี จนกลายเป็นประเทศผู้น้านเทคโนโลยี และได้เริ่มมีการนำเอา Technology Foresight มาใช้ในการวางแผนการดำเนินงาน กำหนดนโยบายของประเทศตั้งแต่ช่วง ปี ค.ศ.1993-1994 โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ประกอบการวิเคราะห์แนวโน้ม วัตถุประสงค์ครั้งแรกที่นำมาใช้เพื่อวางแผนด้านกลยุทธ์ในการพัฒนาโครงการวิจัยระยะยาวเพื่อ’ยกระดับกลยุทธ์ทางด้านเทคโนโลยีของเกาหลีใต้ สู่ระดับประเทศ G7’ ในการคาดการณ์ครั้งนั้นพบว่า จะมีเทคโนโลยีถึง 1174 รายการใน 20 ปี ข้างหน้า

จีน ถือเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจประเทศหนึ่งที่น่าจับตามอง เนื่องจากมีการศึกษาวิจัย และพัฒนาสินค้าและบริการของตัวเองอยู่ตลอดเวลา มีการผลิตสินค้าสำรับใช้เองภายในประเทศและส่งออกเป็นจำนวนมากจีนถือเป็นประเทศหนึ่ที่มาการนำ Foresight มาใช้ประกอบการวางแผน วางกลยุทธ์ กำหนดนโยบายเศรษฐกิจที่ยืดหยุ่น และนโยบายสังคมที่ตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานของประชากร ซึ่งถือว่าเป็นประเทศหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทั้งนเรื่องเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี อย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ เรื่อการซื้อสินค้าและบริการที่ผู้ใช้งานสามารถเลือกซื้อสินค้าและชำระเงินได้ผ่านสมร์ทโฟน ด้วยแอปพลิเคชัน Alipay และ WeChatPay

ที่มา : Govotech Foresight I อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย โดย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)