แนวโน้มด้านเทคโนโลยี
จีโนมิกส์ (Genomics)
การศึกษารหัสพันธุกรรมทั้งหมดหรือจีโนม (genome) ของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์ รวมถึงการศึกษาปฏิกิริยาระหว่างยีน (gene interaction) ด้วยกันเอง และระหว่างยีนกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถใช้ศึกษาโรคที่มีความซับซ้อน (complex diseases) ที่เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เช่น โรคหัวใจ โรคหอบหืด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง

แนวโน้มในอนาคต
ในระยะสั้นเมื่อโครงการจีโนมิกส์ของประเทศต่างๆ ได้ฐานข้อมูลจีโนมส์ที่มีเพียงพอต่อการนำมาใช้วิเคราะห์ ศึกษาวิจัย และบรรลุข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันแล้ว การพัฒนาด้านการแพทย์แม่นยำจะเป็นไปอย่างก้าวกระโดด เกิดนวัตกรรมทางการแพทย์ การออกแบบรักษาโรค การวินิจฉัยโรคที่แม่นยำ บุคลากรเชี่ยวชาญด้านจีโนมิกส์
ในระยะยาวประชาชนได้การรักษาอย่างตรงจุด และสามารถป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ เกิดอุตสาหกรรมการแพทย์จีโนมิกส์
และอาจจะกล่าวได้ว่าโรคโควิด-19 เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ตลาดจีโนมส์และธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในปี 2563 ขนาดของตลาดวินิจฉัยโรคโควิด-19 ทั่วโลกมีมูลค่ามากถึง 19.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะสูงถึง 47 พันล้านดอลลาร์ในปี 2569 ส่วนนึงมาจากการพัฒนาแอนติเจน/แอนติบอดีสำหรับตรวจคัดกรอง SARS-CoV-2 (Singh Rajender, Deepak N Modi, 2021, pp. 1-2)
นอกจากนี้ รัฐบาลในประเทศต่าง ๆ กำลังตรวจสอบการวิจัยและพัฒนาในด้านจีโนมส์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ยกตัวอย่างเช่น ในเดือนมกราคม 2563 กรมเทคโนโลยีชีวภาพ (DBT) ได้ริเริ่ม”Genome India Project” (GIP) ในประเทศอินเดีย เป็นต้น (Research and Markets, 2021)

ผลกระทบต่อประเทศไทย
การบริการทางการแพทย์สมัยใหม่โดยใช้การแพทย์แม่นยำในการรักษาโรคและการวินิจฉัยที่มีความแม่นยำและมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
มีความสามารถในการวิจัยและผลิตยาเฉพาะบุคคลหรือเหมาะสมกับกลุ่มเชื้อชาติตามข้อมูลรหัสพันธุกรรม
การวิจัยและผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อติดตามผลจากการรักษาโรค
เกิดผลกระทบต่อเนื่องในด้านการวิจัยและพัฒนาโภชนาการเฉพาะบุคคล (personalized nutrition) การศึกษาด้านโภชนพันธุศาสตร์ (nutrigenomics) นำไปสู่อุตสาหกรรมอาหารเฉพาะบุคคล อาหารเฉพาะโรค อาหารเสริมสร้างสุขภาพ เป็นต้น
มีการพัฒนาผลิตพืชพันธ์ทางการเกษตรและปศุสัตว์เพื่อรองรับอุตสาหกรรมอาหารดังกล่าว
ฐานข้อมูลจีโนมนั้นสามารถนำมาช่วยระบุหา เชื้อชาติ เครือญาติ ได้เพื่อการสืบค้นหาบุคคลหรือระบุตัวตน
การนำไปใช้เป็นเครื่องมือละเมิดศีลธรรม เช่น การสร้างมนุษย์ที่มีจีโนมสมบูรณ์ ใช้ในการคัดเลือกเด็กที่จะกำเนิดมา การคัดเลือกเข้าทำงาน การทำประกันสุขภาพและชีวิต
การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทประกัน บริษัทยา การสมัครงาน