คือประชากรรุ่นใหม่ซึ่งมีอายุน้อยที่สุด เกิดตั้งแต่ปี 1997 (พ.ศ. 2540) จนถึงปัจจุบัน (Dimock, 2019)อย่างไรก็ตามหลายที่ได้จำกัดให้ Gen Z สิ้นสุดลงที่กลุ่มประชากรที่เกิดภายในปี 2010 และประชากรหลังจากนั้นนับเป็น Generation Alpha (“Gen Z and Gen Alpha Infographic Update,” n.d.), (Francis & Hoefel, 2018) แม้การให้คำนิยาม Generation Alpha นี้ก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันก็ตาม (Pinsker, 2020) สำหรับ Gen Z นั้น แม้ Gen Z ที่อายุมากที่สุดจะเพิ่งเข้าสู่ตลาดแรงงาน แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าประชากรกลุ่มนี้จะกลายเป็นกำลังสำคัญในตลาดแรงงาน ตลาดผู้บริโภคและอิทธิพลทางสังคม การเมืองในอนาคต ด้วยขนาดประชากรกว่า 2.5 พันล้านคน จำนวนมากกว่า Gen Y ที่กำลังเป็นแรงงานหลักในตอนนี้ (Brodard & Blöchlinger-Brechbühl, 2021)

แนวโน้มในอนาคต
Gen Z จะมีจำนวนประชากรทั้งหมดกว่า 2.5 พันล้านคน นับเป็นกว่าหนึ่งในสามของประชากรโลกทั้งหมด โดยเป็นจำนวนที่มากกว่า Gen Y ในตอนนี้ ดังนั้น Gen Z จึงมีอำนาจในตลาดแรงงานและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต (Karianne Gomez et al., n.d.)
Gen Z จะเป็นกลุ่มประชากรที่มีการศึกษาสูงที่สุดเมื่อเทียบกับคนรุ่นก่อน ๆ (Parker & Igielnik, 2020) และมีทักษะทางเทคโนโลยีสูง คุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต (Digital Natives) ซึ่งคาดว่ากลุ่ม Gen Z จะเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนให้การทำงานในรูปแบบใหม่ (the future of work) กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา
ประชากร Gen Z ยังมีลักษณะร่วมกันคือมีความตื่นตัวด้านปัญหาสังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อม ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Parker & Igielnik, 2020), (Francis & Hoefel, 2018)
สำหรับประเทศไทย ประมาณการณ์ว่ามีจำนวนประชากร Gen Z ราว ๆ เกือบ 13 ล้านคนที่กำลังจะเข้าสู่วัยแรงงานและจะเป็นกำลังหลักในตลาดแรงงานของประเทศถึง 20% (ธิติมา ไชยมงคล, 2562)

ผลกระทบต่อประเทศไทย
แม้คน Gen Z ที่อายุมากที่สุดจะเพิ่งเข้าสู่ตลาดแรงงาน แต่การสำรวจพบว่า ประชากรกลุ่มนี้มีแนวโน้มจะเปลี่ยนงานเร็วมาก ทำให้อัตราการลาออกเพิ่มสูง (ธิติมา ไชยมงคล, 2562) ซึ่งภาคธุรกิจในประเทศไทยต้องหาทางรับมือให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการประบเปลี่ยนรูปแบบการทำงานหรือการเสนอสวัสดิการที่เหมาะสมเพื่อดึงดูดพนักงาน
ดังที่กล่าวไป ประชากรกลุ่ม Gen Z จะให้ความสำคัญกับปัญหาสังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐจะต้องให้ความใส่ใจในจุดนี้ เนื่องจากเสียงของประชากรกลุ่มนี้จะมีอิทธิพลขึ้นในอนาคต
โดยภาคธุรกิจต้องมีการปรับตัวให้ใส่ใจผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินธุรกิจมากขึ้น จากการสำรวจพบว่า 85% เต็มใจจ่ายเงินมากขึ้น ถ้าแบรนด์มีส่วนในแก้ปัญหาสังคม (workpointTODAY, 2564)
Gen Z ในประเทศไทยมีความใส่ใจในปัญหาสังคมและกล้าที่จะออกมาเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้มีการแก้ปัญหา รวมถึงเรียกร้องสิทธิให้ตนเอง คาดการณ์ได้ว่าจะมีการเคลื่อนไหวเช่นนี้อีกต่อไปในอนาคตและประชากรกลุ่มนี้จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
เกิดความขัดแย้งระหว่างคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่