ระบบการเงินแบบกระจายศูนย์ (DECENTRALIZED FINANCE, DEFI)

ระบบการเงินแบบกระจายศูนย์ เป็นบริการทางการเงินแบบกระจายศูนย์ บนระบบบล็อกเชน ไม่พึ่งพาตัวกลาง โดยใช้กลไกควบคุมการดำเนินการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด ผ่านสัญญาอัจฉริยะ (smart contract) ดังนั้น จุดสำคัญของโครงการ DeFi จึงอยู่ที่ความน่าเชื่อถือ การทำงานอย่างถูกต้อง และความปลอดภัยของเทคโนโลยีเป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากบริการทางการเงินรูปแบบดั้งเดิม ที่ความสำคัญจะอยู่ที่การปฏิบัติงาน ของผู้ให้บริการอย่างสถาบันการเงิน (สำนักงาน ก.ล.ต., 2564) 

แนวโน้มในอนาคต 

▪ จากข้อมูลที่ค้นหาพบว่าภายในปี 2566 ‘Hegic’ แพลตฟอร์มเทรดเหรียญฺบิตคอยน์ (Bitcoin) และอีเธอเรียม (Ethereum) คาดว่าปริมาณการซื้อขายรวมรายวันของทั้งตัวเลือกอีเธอและบิตคอยน์ จะสูงถึง 9.2 พันล้านดอลลาร์ และคาดว่าตลาดตัวเลือกอีเธอและบิตคอยน์เพียงอย่างเดียวจะมีมูลค่ามากกว่าที่เป็นอยู่ประมาณ 10 เท่า
▪ ตลาดระบบการเงินกระจายศูนย์ ในเดือนพฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมาซึ่งวัดจากจำนวนด้านคริปโทเคอร์เรนซี่ มีมูลค่าลดลงกว่า 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนของราคาสกุลเงินดิจิตัลที่แตกต่างกันเกือบ 100 สกุลเงิน รวมถึงราคาก๊าซที่เพิ่มขึ้น (ค่าธรรมเนียมธุรกรรมของอีเธอเรียม) ทำให้นักลงทุนถอนการลงทุนเป็นจำนวนมาก (Statista, 2021)
▪ อย่างไรก็ตามข้อมูลจาก Matthew Roszak นักลงทุนด้านคริปโทเคอร์เรนซี่ผู้มีประสบการณ์และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งแพลตฟอร์ม DeFi Vesper ได้ให้สัมภาษณ์กับ Insider โดยกล่าวว่า ระบบการเงินแบบกระจายศูนย์มีแนวโน้มเติบโตขึ้น 10 เท่าภายในปี 2565 และหลังจากปีนี้(2564)เป็นต้นไปมูลค่าการเติบโตของระบบจะเพิ่มขึ้น 385% ซึ่งมีมูลค่ามากขึ้น 800 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ผลกระทบต่อประเทศไทย  

▪ เกิดการพัฒนาและเปิดตัวสมาร์ทเชนหรือบล็อคเชนสาธารณะใหม่ๆในอนาคต อย่าง ‘Binance’ ผู้พัฒนาที่สร้างระบบ ‘Binance Smart Chain’ ซึ่งมีคุณสมบัติในการสร้างพัฒนาสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) ทำให้นักพัฒนาจากภายนอกสามารถสร้างระบบการเงินกระจายศูนย์ (Decentralized Finance) ของตัวเองได้ (Gwyneth Iredale, 2021)
▪ เป็นทางเลือกในการใช้บริการของผู้บริโภคอย่างนึง ระบบการเงิบแบบเดิมจะไม่หายไปเพราะผู้บริโภคบางกลุ่มยังไม่สามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์ที่มีความจำเป็นต่อการใช้บริการ ผู้บริโภคบางกลุ่มอาจจะเชื่อมั่นในระบบการเงินแบบเดิมเพราะให้ความรู้สึกว่าสามารถจำต้องได้มากกว่า
▪ เกิดการกู้เงินและการระดมทุนเพิ่มมาก และมีการกระจายเงินในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น
▪ บุคคลาที่เก่งและมีความสามารถในไทย มีโอกาสเข้าถึงระบบเงินทุนได้มากง่ายขึ้น ก่อให้เกิด SME ใหม่ ๆ ได้ในอนาคต
▪ เมื่อผู้คนหลั่งไหลมาใช้บริการระบบการเงินกระจายศูนย์มากขึ้น สามารถทำธุรกรรมต่างๆได้ง่าย และมีการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนสูง อาจจะทำให้ผู้คนศรัทธาในค่าเงินจริงน้อยลง และอาจส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ