ตามมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติใน ค.ศ.1977 อาวุธทำลายล้างสูงหมายถึงอาวุธระเบิดปรมาณู อาวุธกัมมันตภาพรังสี อาวุธเคมี อาวุธชีวภาพ และอาวุธอื่นที่มีอานุภาพทำลายล้างชีวิตมนุษย์ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เทียบเคียงได้กับอาวุธที่กล่าวมาข้างต้น (Prohibition of the development and manufacture of new types of weapons of mass destruction and new systems of such weapons, 1977) นอกจากนี้ ยังหมายรวมถึงขีปนาวุธ ซึ่งอาจถูกใช้ในการลำเลียงอาวุธทำลายล้างสูงเหล่านั้นด้วย

แนวโน้มในอนาคต
สถาบันระหว่างประเทศด้านการลดและป้องกันการแพร่ขยายอาวุธทำลายล้างสูงจะมีขีดความ สามารถในการบรรลุเป้าหมายลดลงตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลัง ค.ศ.2030 (Caves Jr. & Carus, 2014, p.4) เมื่อสถานะมหาอำนาจนำของสหรัฐอเมริกาถูกท้าทายอย่างเต็มที่ และปทัสถานที่เกี่ยวข้องถูกยึดถือเชื่อใช้น้อยลง
ตัวแสดงจะสามารถพัฒนาอานุภาพของอาวุธทำลายล้างสูงให้รุนแรงยิ่งขึ้น โดยปิดบังจากการรับรู้ของตัวแสดงอื่นได้มากขึ้น ในกรณีของอาวุธเคมีและชีวภาพ ยังน่าจะได้รับการพัฒนาให้มีความแม่นยำในการจำกัดเป้าหมายและตรวจจับได้ยากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญภายใน ค.ศ.2030 (Ibid.)
อาจมีการใช้อาวุธไซเบอร์และเทคโนโลยีอวกาศในการสร้างความเสียหายในวงกว้าง เทียบเคียงกับอาวุธทำลายล้างสูงตามแบบ
ตัวแสดงรัฐมีแนวโน้มที่จะครอบครองอาวุธทำลายล้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาวุธปรมาณู เป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น (Ibid., p.5)
ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ เช่น ขบวนการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ มีแนวโน้มที่จะสามารถเข้าถึงอาวุธทำลายล้างสูงได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาวุธเคมีและชีวภาพ แต่ก็อาจไม่มีแรงจูงใจในการถือครองและใช้งานเป็นการทั่วไป (Forest, 2011, p.51)

ผลกระทบต่อประเทศไทย
กระตุ้นการพัฒนาเทคโนโลยีสองทาง/เทคโนโลยีอื่นที่อาจต่อยอดจากองค์ความรู้ที่ใช้ผลิตอาวุธ
ยกระดับความรุนแรงและความเสียหายต่อประชาชนจากการสู้รบในพื้นที่เปราะบางในภูมิ-ภาค การก่อการร้าย และอาชญากรรมข้ามชาติ
เพิ่มอำนาจของรัฐผู้ถือครอง จึงเร่งการแข่งขันสะสมอาวุธ ซึ่งจะเสริมสร้างความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจและความขัดแย้งแข่งขันระหว่างรัฐขั้วอำนาจ ส่งผลยกระดับความไม่มั่นคงในการเมืองโลกและยิ่งเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระเบียบโลกแบบแบ่ง แยกหลายขั้วอำนาจและภาวะโลกหลายระเบียบ
ส่งผลให้รัฐบาลดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างเป็นอิสระและผลักดันประเด็นวาระผ่านความร่วมมือแบบพหุภาคีได้ยากขึ้น จึงอาจมีศักยภาพในการรักษาผลประโยชน์แห่งรัฐลดลง ซึ่งย่อมกระทบต่อผลประโยชน์ของประชาชน
เมื่อโลกไม่มั่นคงสูง กองทัพอาจมีอิทธิพลในการ-เมืองมากขึ้น บั่นทอนการพัฒนาประชาธิปไตย
ส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมการทหาร
เพิ่มความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจในพื้นที่เปราะ-บางทางความมั่นคง อีกทั้งบรรษัทยังอาจต้องแข่งขันดำเนินธุรกิจอย่างเสียเปรียบในตลาดมืด
กระตุ้นการกีดกันทางการค้าและความแตกต่างหลากหลายของกฎเกณฑ์ทางเศรษฐกิจ เป็นเหตุให้บรรษัทที่ทำธุรกิจกับต่างประเทศประสบความยากลำบากในการค้าการลงทุนมากยิ่งขึ้น