ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ อาหารอนาคต ถูกพูดถึงกันมากเพราะเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นทั่วโลก เป็นไปตามวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในโลกนี้ที่เปลี่ยนแปลงไปแบบคาดไม่ถึง ทั้งนี้ผู้บริโภคยุคใหม่จะให้ความสำคัญกับอาหารที่รับประทานได้สะดวก รวดเร็ว ในขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับสุขภาพ และความปลอดภัย ไปพร้อม ๆ กัน (ธนาคารกรุงเทพ, 2563)

แนวโน้มในอนาคต
Redefine Meat สตาร์ตอัพสัญชาติอิสราเอล จึงทดลองทำสเต็กจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่มีเนื้อสัมผัส มันแทรก เหมือนกับเนื้อจริงทุกประการ และยังเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและลดของเสียอันเป็นปัจจัยที่ทำให้โลกร้อนอีกด้วย (วิชิตา คะแนนสิน, 2564)
ในปัจจุบัน มนุษย์บริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มากเป็นสองเท่าในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา และไม่มีวี่แววว่าจะลดลงเลยแม้แต่น้อย หนทางที่เป็นไปได้มากที่สุดในตอนนี้คือการหาสิ่งทดแทน Plant-based meat หรือ เนื้อที่ทำจากพืช ซึ่งเนื้อจากพืชในอนาคตจะใช้เทคโนโลยีในการแต่งทั้งรส กลิ่นและเนื้อสัมผัสให้เหมือนกับเนื้อจริง (Manikkam, 2018)
ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเชื่อว่าในอนาคตจะต้องหาแหล่งโปรตีนใหม่ ๆ เพื่อมาทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ โดยหันไปหาแหล่งโปรตีนทางเลือก เช่น แมลง เพราะในแมลงอุดมไปด้วยโปรตีน อีกทั้งยังมีไขมัน โปรตีน วิตามิน ไฟเบอร์ และแร่ธาตุสูง นอกจากนี้แมลงยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าเนื้อสัตว์ในอุตสาหกรรมที่เต็มไปด้วยแบคทีเรียและยาปฏิชีวนะ (Farrimond, 2019)

ผลกระทบต่อประเทศไทย
ประเทศไทยจะนำอาหารที่ทำจากโปรตีนจากพืช มาเป็นอาหารหลัก เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการอาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy food) ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก สอดรับกับนโยบายเกษตรปลอดภัยและอาหารปลอดภัยของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(Posttoday, 2563)
ประเทศไทย แมลงถือเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจสำคัญ เพราะเหมาะต่อการเลี้ยงแมลง ทั้งภูมิอากาศเหมาะสม และมีแมลงหลายชนิด หลายสายพันธุ์เป็นพื้นฐาน ตัวอย่างแมลงที่น่าสนใจ เช่น จิ้งหรีด จิ้งโกร่ง ตั๊กแตน หนอนไหม ซึ่งสามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลาย และนำมาเป็นอาหารแห่งอนาคตได้(ประชาชาติธุรกิจ, 2564a)
กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับมอบหมายให้บูรณาการ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารอย่างต่อเนื่องเพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางอาหารอนาคตแห่งอาเซียน(ไทยโพสต์, 2564)
บทความที่เกี่ยวข้อง:
ไม่มีบทความที่เกี่ยวข้องสำหรับโพสต์นี้