เทคโนโลยีการคมนาคมความเร็วสูง (Hyper-speed Transportation Technology)

ในอดีต การเดินทางด้วยระบบรางได้กระตุ้น และทำให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในพื้นที่บางส่วนของโลก ระบบรางยังได้ทำให้เกิดการกระจายตัวทางเศรษฐกิจ ช่วยสนับสนุนนโยบาย และเป็นตัวเร่งให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ แต่โลกได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีคำพยากรณ์ถึงอนาคตในปี 2050 ว่า ประชากรโลกจะมีจำนวนสูงขึ้นเป็น 9.5 พันล้านคน และกว่า 75% จะอาศัยอยู่ในเมือง ซึ่งจะส่งผลให้การเดินทางจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า จึงต้องมีเทคโนโลยีการเดินทางใหม่ ๆ ยกตัวอย่างเช่น ระบบรางรถไฟฟ้าพลังงานแม่เหล็ก จนไปถึงไฮเปอร์ลูป เพื่อช่วยตอบสนองความต้องการให้มากขึ้น (The Bangkok Inside, 2562) 

แนวโน้มในอนาคต 

▪ ในอนาคตจะมีเทคโนโลยีการคมนาคมขนส่งแห่งโลกอนาคตด้วยการเดินทางผ่านท่อสัญญากาศ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า เดินทางไปยังจุดหมายที่ต้องการ ซึ่งเรียกเทคโนโลยีนี่ว่า Hyperloop (Airnae Air, 2562)
▪ มีการเดินทางอากาศโดยการใช้เครื่องบินความเร็วเหนือเสียง ซึ่งจะลดเวลาการเดินทางเหลือครึ่งเดียว โดยที่เครื่องยนต์จะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ (Net-zero) และสามารถใช้เชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับเครื่องบินได้(Pran Suwannatat, 2021)
▪ เดินทางโดยการใช้รถไฟขับเคลื่อนด้วยพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า โดยที่ขบวนรถไฟจะวิ่งเหนือรางโดยตัวรถไม่สัมผัสกับราง ในปัจจุบันประเทศจีนเป็นประเทศแรกที่นำเทคโนโลยีนี่มาใช้ เป็นการเดินทางที่ระยะห่างกว่า 1,000 กิโลเมตร ใช้เวลาแค่ 2 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น ซึ่งจะทำให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น(ผู้จัดการออนไลน์, 2564)

ผลกระทบต่อประเทศไทย  

▪ ความเป็นเมืองมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเดินทาง มีการกระจายตัวของแหล่งที่อยู่อาศัยบริเวณชานเมืองและปริมณฑล เกิดความต้องการในการเดินทางจากแหล่งที่อยู่อาศัยใหม่เข้าสู่แหล่งที่ทำงาน สถานศึกษา และแหล่งกิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น(กระทรวงคมนาคม, 2559)
▪ รัฐบาลไทยได้ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้า อีกทั้งกระทรวงพลังงานก็พยายามผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าเสรีระดับโลกของก๊าซธรรมชาติเหลว นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีโอกาสในการสนับสนุนพลังงานทางเลือก เช่น ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน รวมถึงโอกาสในการประเมินศักยภาพเพื่อก้าวไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับไฮโดรเจน (Shell, 2020)