คือ “ระบบอุตสาหกรรมที่วางแผน และออกแบบมาเพื่อคืนสภาพ หรือให้ชีวิตใหม่แก่วัสดุต่าง ๆ ในวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ แทนที่จะทิ้งไปเป็นขยะเมื่อสิ้นสุดการบริโภค” (เศรษฐกิจหมุนเวียน – โอกาสใหม่ของธุรกิจเพื่อความยั่งยืน, 2562) หรือระบบเศรษฐกิจที่ตลอดทั้งกระบวนการผลิต ขนส่ง การบริโภค การกำจัดของเสียของสินค้า และบริการได้รับการออกแบบ มาให้ของเสีย และมลพิษให้น้อยที่สุด ผ่านการนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ หรือแลกเปลี่ยนกัน (เศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy, 2562)

แนวโน้มในอนาคต
วิกฤตสิ่งแวดล้อมและปัญหาความเหลื่อมล้ำจะกดดันให้ทุกฝ่ายเห็นความจำเป็นของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Dufva, 2020)
ในปัจจุบัน เศรษฐกิจหมุนเวียนกำลังได้รับการผลักดันในภาครัฐบาลในระดับโลก ในปี 2020 มีการก่อตั้ง Global Alliance on Circular Economy and Resource Efficiency (GACERE) ซึ่งมีประเทศสมาชิกคือประเทศในสหภาพยุโรปและประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจหลายประเทศ
ภาคธุรกิจระดับโลกก็เริ่มให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจหมุนเวียนมากขึ้น มีการเปลี่ยนวงจรของธุรกิจให้หมุนเวียนด้วยตัวเองให้ได้มากที่สุด เช่น Nike ที่กำหนดให้ร้อยละ 71 ของเสื้อผ้าและรองเท้าต้องทำมาจากวัสดุรีไซเคิล (Nike’s Latest Sustainable Innovations and Environmental Impact, 2018)
สำหรับประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรมมีการพัฒนาแผนแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและมีแผนที่จะให้เศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นอุตสาหกรรม new S-curve ที่ 12 ของประเทศ (ปัญญ์ชลี พิมลวงศ์, 2561) และภาคธุรกิจไทยบางองค์กร เช่น SCG, พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด ก็ได้นำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ (รติมา คชนันทน์, 2561)

ผลกระทบต่อประเทศไทย
ธุรกิจเปลี่ยนแปลงจากการมุ่งเน้นเพื่อแสวงหาผลกำไรเพียงอย่างเดียวมาเป็นระบบธุรกิจที่มุ่งเน้นการเติบโตสีเขียวด้วยแนวคิดผสมผสานระหว่างมิติทางสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ
ประเทศไทยสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจและผลผลิต ผ่านการขับเคลื่อนภาคธุรกิจใหญ่ของไทยคือท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมเข้าสู่รูปแบบใหม่คือเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เกิดลงทุนในธุรกิจในเศรษฐกิจหมุนเวียน เกิดเป็นธุรกิจและอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ทำให้เกิดการสร้างงาน เช่น การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า หรือการผลิตไฟฟ้าจากขยะ/แหล่งพลังงานสะอาด
การจัดการขยะเป็นศูนย์และการใช้พลังงานสะอาดกลายเป็นเป้าหมายสำคัญที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องดำเนินการ
ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนนั้นได้รับการวิจารณ์ว่าไม่ได้ช่วยลดปัญหาการผลิตและการบริโภคที่มากเกินไป (Mah, 2021) จึงมีความเป็นไปได้ว่าท้ายที่สุดแล้ว กิจกรรมต่าง ๆ ในเศรษฐกิจหมุนเวียนจะกลับกลายเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจสร้างกำไรในบริษัทขนาดใหญ่ต่อไปโดยไม่ได้แก้ปัญหาอย่างแท้จริง
ภาครัฐจะทำการเผยแพร่และสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนให้ประชาชนรับรู้มากขึ้นเพื่อผลักดันนโยบาย