การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจบนแพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งทำหน้าที่เป็น ‘พื้นที่เปิด’ ให้คนเข้ามาแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและทำธุรกรรมร่วมกัน โดยมีตัวกลางคือแฟลตฟอร์มเป็นตัวกลางให้ผู้ให้บริการกับผู้บริโภคติดต่อ เรียกใช้งานกันได้ ก่อให้เกิดธุรกิจแนว Startup เช่น Grab, Uber, Airbnb, Wework, และอื่น ๆ (Deloitte, 2018)

แนวโน้มในอนาคต
รายได้จากเศรษฐกิจแพลตฟอร์มกระจายไปสู่อุตสาหกรรมหลักต่าง ๆ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวม โดยคาดว่ามูลค่ารวมของเศรษฐกิจแพลตฟอร์มทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 335 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2025 นับเป็นเม็ดเงินมหาศาล
เกิดการพัฒนานวัตกรรม เช่น แอปพลิเคชั่นในระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์มที่ต้องมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นตลอดเวลา นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดความร่วมมือในระดับนานาชาติเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและยุทธศาสตร์ในการดำเนินธุรกิจในระบบเช่นนี้ โดยในเดือนพฤศจิกายน 2019 มีการก่อตั้งองค์กร Global Sharing Economy Alliance (GLASE) ในกรุงเวียนนาจัดตั้งขึ้นเพื่อเชื่อมต่อหอการค้าและธุรกิจทั่วโลกโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการจัดหาทรัพยากร/เงินทุน
คาดว่าจะเติบโตขึ้นอีก ดูได้จากการใช้บริการ Grab และ Ride sharing อื่น ๆ ของคนไทยร้อยละ 50 เคยใช้บริการ Ride Sharing และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 73 ในอีก 30 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ House sharing เช่น Airbnb ก็ได้รับความนิยมมาก ทั่วโลกก็เช่นกัน คาดว่ามูลค่ารวมของเศรษฐกิจแพลตฟอร์มทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 335 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2568 (อีก 4 ปี) และขยายไปสู่ตลาดใหม่อย่างต่อเนื่อง (Statista Research Department, 2020)

ผลกระทบต่อประเทศไทย
ธุรกิจแบบดั้งเดิมอาจจะถูกแทนที่และหายไป เช่น แท็กซี่ มอเตอร์ไซต์รับจ้าง โรงแรม ที่สูญเสีญลูกค้า เพราะคนนิยมให้ไปใช้บริการในระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม หรือการที่คนนิยมใช้แพลตฟอร์มในการซื้อของ เช่น Shopee หรือ Lazada ก็น่าจะส่งผลให้ธุรกิจพ่อค้าคนกลางหายไปและห้างสรรพสินค้าได้รับความนิยมน้อยลง (TDRI, 2021)
งานสายเทคโนโลยีจะมีความต้องการแรงงานเพิ่มสูงขึ้นไปอีก ทั้งนี้เพราะเศรษฐกิจแพลตฟอร์มต้องใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้ต้องการคนที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีมาคอยดูแลและพัฒนาแพลตฟอร์ม
เกิดการผูกขาดของบริษัทใหญ่จากต่างประเทศ
แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นไปได้ที่ผู้ขายรายย่อยบนแพลตฟอร์มดิจิทัลยังสามารถเข้าถึงฐานลูกค้า ข้อมูล โครงสร้างพื้นฐาน และระบบขนส่งเดียวกันกับธุรกิจขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมยิ่งขึ้น
ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากขึ้น เนื่องจาก ต้นทุนในการแสวงหาข้อมูลข่าวสารลดลง เอื้อให้เราสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แพลตฟอร์มดิจิทัลมีเทคโนโลยีที่ช่วยในการจับคู่ ช่วยคัดกรองคุณภาพของสินค้าและบริการ ต้นทุนในการเข้าสู่ตลาดของรายย่อย