6 ประการสำคัญ เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในอนาคต

1) คนคือ กำลังสำคัญของภาคการท่องเที่ยวและบริการ : ต้องรู้จัก Upskill, Reskill และ New Skill ทักษะเพื่ออนาคต (Future Skills Set) (1)

2) สร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของชุมชน เครือข่าย (ภาคี) : ผนึกกำลัง (Empower) องค์กรภาครัฐ ชุมชนและภาคเอกชน โดยระดมสมอง ร่วมกันกำหนดแผน นโยบายและทิศทางเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมถึงการสร้างฐานข้อมูลของผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว
ทุกภาคีเข้าสู่ระบบที่เป็นมาตรฐานสากล

3) สร้างคุณค่าและคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการบริการที่สัมผัสได้ :
ยกระดับการบริการจากที่สัมผัสด้วยใจ (Intangible Product) ให้สามารถจับต้องได้ (Tangible Product) ให้นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์และคุณค่าจากการรับบริการได้ในเวลาเดียวกัน

4) สร้างความปลอดภัยในทุกมิติที่นักท่องเที่ยวมีโอกาสได้สัมผัส :
ความเชื่อมั่นจะเชื่อมโยงกับมาตรฐานการให้บริการที่นักท่องเที่ยวได้รับ แนวคิดที่มุ่งเน้น New Service & Hygiene ต้องถูกฝังในกระบวนการให้บริการทุกมิติและทุกขั้นตอน อาทิ การให้บริการแบบไร้สัมผัส (Contactless Services) การใช้ระบบดิจิทัลมาปรับใช้ควบคู่กับเทคโนโลยีเพื่อการบริการต่างๆ เช่น e-Booking, e-Checking in, e-Concierge, Digital control และ Digital payment เป็นต้น

5) หนุนเสริมการวิจัยเพื่อค้นหานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ในการยกระดับการท่องเที่ยว :
โดยให้ความสำคัญกับมาตรการต่างๆ ที่ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการการท่องเที่ยวภายใต้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการท่องเที่ยว (Travel Tech/ Futures Digital Platform for Tourism Industry) เช่น การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อติดตามและช่วยเหลือนักท่องเที่ยว Screening/Tracing/ Tracking/ Surveillance System (STTS), ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการการท่องเที่ยว และเพื่อยกระดับทักษะของบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เป็นต้น

6) สร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นจากภายในสู่ภายนอกอย่างยั่งยืน :
มองหาโลกของ “การท่องเที่ยวที่พึงประสงค์” และ “การพัฒนาการท่องเที่ยวจากฐานรากที่ยั่งยืน” ด้วยการผนึกกำลังร่วมกัน กระจายองค์ความรู้ (Caring & Sharing) และพัฒนาแบบบูรณาการในระบบ (2) (สุวิทย์ เมษินทรีย์, 2563)

อ้างอิง :
(1)สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (2563). สอวช. เผยผลสำรวจผลกระทบที่ภาคเอกชนได้รับจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ปิ๊งไอเดีย ต่อยอดข้อมูลทำ SME Transformation – ด้านแนวทาง Reskill / Upskill ผ่านฉลุย พร้อมส่งต่อ สป.อว. เดินเครื่องเต็มสูบ. ข่าวประชาสัมพันธ์, [ออนไลน์]. เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2563. เข้าถึงใน https://www.nxpo.or.th/th/3867/
(2)สุวิทย์ เมษินทรีย์ (2563). โลกเปลี่ยน คนปรับ “สังคมของพวกเรา”ในโลกหลังโควิด. [ออนไลน์]. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. เข้าถึงใน https://www.stkc.go.th/ebook

โดย ศาสตราจารย์ ดร. เทิดชาย ช่วยบำรุง

ส่วนหนึ่งจากบทความ ‘ความปกติใหม่ของการท่องเที่ยวไทยในอนาคต’
31 สิงหาคม 2563
โดย ศาสตราจารย์ ดร. เทิดชาย ช่วยบำรุง
คณะการจัดการการท่องเที่ยว
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์