คือการตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงตื่นตัวต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่โลกกำลังเผชิญ ซึ่งความตื่นตัวและตระหนักรู้นี้จะนำไปสู่ความต้องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการแก้ปัญหาเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติอย่างยั่งยืน

แนวโน้มในอนาคต
▪ มีความตระหนักและใส่ใจปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อย ๆ คนกว่า 77% จากกลุ่มตัวอย่าง 189,996 คนจากทั่วโลกกังวลถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม (Lampert, 2019) นอกจากนี้ จากการสำรวจยังพบว่า กว่า 60% ของผู้บริโภคยอมจ่ายเงินเพิ่มเพื่อซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Klein et al., 2017
▪ ข่าวปัญหาโลกร้อนและปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ยังได้รับการนำเสนอผ่านสื่ออย่างต่อเนื่อง ประกอบกับสถานการณ์ปัญหาที่แย่ลง นอกจากนี้การออกมารณรงค์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก็ยังเป็นกระแสทั้งในสื่อกระแสหลักและโซเชียลมีเดีย คนทั่วโลกโดยเฉพาะคนหนุ่มสาวต่างมีความรู้สึกร่วมไปกับปัญหาสิ่งแวดล้อม (Dufva, 2020) จึงสามารถคาดได้ว่า ความตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมจะเป็นกระแสต่อไปอีกหลายปี

ผลกระทบต่อประเทศไทย
▪ มีการผลิตสินค้าและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและยึดตามหลักจริยธรรม เช่น Fairphone โทรศัพท์มือถือที่ผลิตโดยไม่ใช้แร่ธาตุที่มาจากเหมืองแร่ในพื้นที่ ๆ มีปัญหาการใช้แรงงานผิดกฎหมาย
▪ ผู้บริโภคมีความใส่ใจในการตรวจสอบว่าคุณภาพ ที่มาและขั้นตอนการผลิตสินค้ามากขึ้น (เจาะเทรนด์โลก 2021 : Reform This Moment, 2563, p. 286-287)
▪ พลังงานสะอาด, สิ่งก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (green building), ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะหาได้ง่ายขึ้นเพราะผู้ผลิตจะตอบสนองต่ออุปสงค์จากลูกค้า
▪ ภาคธุรกิจอาจจะใช้เทคนิคการฟอกเขียว (Green washing) ซึ่งคือการใช้กระแสความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมมาเป็นจุดขายของผลิตภัณฑ์โดยที่ผลิตภัณฑ์นั้นไม่ได้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือผ่านกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจริง
▪ หน่วยงานรัฐด้านการศึกษาจะ/ต้องสานต่อกระแสความตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมนี้ผ่านการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนต่อไป เพื่อให้คนรุ่นใหม่ในอนาคตมีจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม
▪ แนวคิดและมุมมองที่ผู้คนมีต่อธรรมชาติเปลี่ยนไปและจะมีการถ่ายทอดแนวคิดนี้จากรุ่นสู่รุ่น